Keep updated with phanganist.com by following our Facebook page.
ที่เกาะพะงันไม่ได้มีดีแค่ชายหาดสวยๆ และปาร์ตี้สนุกสุดเหวี่ยงเท่านั้น แต่ของดีเกาะพะงันยังรวมไปถึง "ธรรมชาติ" อีกด้วย เพราะมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่บนเกาะได้รับการอนุรักษ์ให้เป็น "เขตอุทานแห่งชาติ" เกาะพะงันจึงยังคงความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศที่ดี ป่าของเกาะพะงันทำหน้าที่เฉกเช่นเดียวกับป่าเขตร้อนอื่นๆ คือเป็นแหล่งกำเนิดพืชพรรณและบ้านของสรรพสัตว์นานาชนิดๆ แวดล้อมไปด้วยดอกไม้ป่าหลากสีสัน หลายรูปทรง ไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาแก่ต้นไม้ใบหญ้านานาพรรณสีเขียวขจี เราขอยกตัวอย่างต้นไม้และผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในเกาะพะงัน เอาไว้เป็นไกด์เผื่อคราวหน้าใครเบื่อๆ หาดทราย แล้วอยากลองไปเดินเล่นชมนกชมไม้กันดูบ้าง |
||
บอน (กระดาด)
ไม้ล้มลุกประเภทบอนหรือกระดาด (Alocasia) มีอยู่ราวๆ 70 สายพันธุ์ ล้วนมีถิ่นกำเนิดในแถบป่าเขตร้อนของทวีปเอเชียและหลายพันธุ์มีใบที่สวยแปลกเป็นเอกลักษณ์ พันธุที่สูงใหญ่ที่สุดคือ Alocasia Macrorrhiza หรือ กระดาด มีชื่ออื่นๆ ว่า บอนกาวี เผือกกะลา เอาะลาย ใบของต้นบอนสายพันธุ์นี้อาจมีขนาดใหญ่ถึง 1 หรือ 2 เมตร เลยทีเดียว
|
มะขาม
ต้นมะขามมีความสูงได้ถึง 25 เมตร มีเปลือกไม้สีน้ำตาลเข้ม เนื้อมะขามมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว สามารถกินได้ทั้งแบบสดๆ จากต้น หรืออบแห้งก็อร่อยไม่แพ้กัน มะขามเป็นส่วนประกอบสำคัญของ ชัทนีย์ (เครื่องแกงแบบอินเดีย) แกงกะหรี่ต่างๆ และน้ำผลไม้ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
|
ขนุน
ต้นขนุนมีความสูงราว 15 เมตร ผลขนุนที่ยังไม่สุกสามารถนำมาประกอบอาหารทานเป็นผักได้ ส่วนขนุนที่สุกแล้ว สามารถกินเนื้อได้ทั้งแบบสดจากผลหรือนำไปปรุงก่อนก็ได้
|
กล้วย
มีถิ่นกำเนิดจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ทิศตะวันตกของประเทศอินเดียไปจนถึงทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย เริ่มมีการนำกล้วยเข้ามาในประเทศแถบยุโรปราวคริศตวรรษที่ 10 ในยุคนั้นชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ากล้วยมาจากทวีปแอฟริกา ไม่ใช่จากทวีปเอเชีย
กล้วยมีลักษณะเป็นพืชที่ขึ้นเป็นกอขนาดใหญ่ มีเหง้า แลดูคล้ายต้นไม้ เป็นทั้งไม้ผลสำหรับรับประทานหรือไม้ประดับสวนให้อารมณ์สวนเมืองร้อน หลังจากออกผลกล้วยแต่ละรอบ ต้นจะตาย แต่เหง้ากอใหม่ก็จะผุดขึ้นมาข้างๆ กอเดิมเพื่อเกิดเป็นต้นกล้วยต้นใหม่ต่อไป
|
ต้นมะพร้าว
ถิ่นกำเนิดของต้นมะพร้าวนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด ด้วยเหตุที่ไม้ผลประเภทนี้มีความสามารถในการแพร่พันธุ์ไปหลายพันกิโลเมตรได้โดยธรรมชาติ มะพร้าวสามารถลอยออกไปยังมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ได้นานเป็นเดือนๆ และยังแตกยอดต้นใหม่ได้เมื่อถึงชายฝั่ง ด้วยเหตุนี้ที่มาของต้นมะพร้าวจึงอาจเป็นที่ไหนก็ได้ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียตะวันออกไปจนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ในยุคแรกของการค้นพบคือแถบแอฟริกาตะวันออกทั่วไปจนถึงชายหาดทะเลแปซิฟิกของประเทศปานามา ต้นมะพร้าวมีลำต้นสูงถึง 20 เมตร มักจะมีรูปร่างโค้งจากฐานลำต้น แทบทุกส่วนของต้นมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม อาหาร น้ำมัน ที่มุงหลังคา โครงเรือ หรือใยจากกาบมะพร้าว
|
สับปะรด
สับปะรดมีเป็นพืชพื้นเมืองในเขตป่าแห้งหรือเขตปลูกพืชผักแบบไม้พุ่มของอเมริกาใต้ กระนั้นที่มาของสับปะรดก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แหล่งข้อมูลแบบเก่าเชื่อว่าสับปะรดมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของบราซิลและประเทศปารากวัย แต่การศึกษาปัจจุบันเสนอว่าน่าจะมาจากทางเหนือของประเทศบราซิล ประเทศโคลอมเบีย และเวเนซูเอล่าเสียมากกว่า
สับปะรดประกอบไปด้วยสายพันธุ์ใหญ่ๆ 52 สายพันธุ์ มีชนิดที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันถึง 2,500 ชนิด และจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการผสมพันธุ์ แม้ว่าสับปะรดจะนิยมปลูกกันในรูปแบบฟาร์มมากกว่าสวนตามบ้านเรือน แต่สับปะรดบางสายพันธุ์มีสีสันแปลกตาก็นำมาใช้ในการตกแต่งสวนเช่นกัน
|
|
||
ไม้ไผ่
ไม้ไผ่ส่วนมากมักจะโตในที่ร่มหรือมีแสงแดดส่องถึงน้อย บางสายพันธุ์มีลำไม้ไผ่ขนาดเตี้ยแต่ส่วนใหญ่จะค่อนข้างสูงถึงสูงมาก ซึ่งสายพันธุ์ขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ภายในสวนของบริเวณที่อยู่อาศัยเพราะแทนที่จะเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม ไม้ไผ่เหล่านี้อาจสูงใหญ่จนกลายเป็นการรุกรานพื้นที่ได้ ไผ่เหลือง หรือ Bambusa Vulgaris เป็นสายพันธุ์ที่มีลายสีเขียวและเหลืองสว่าง
|
เงาะ
ไม้ผลเมืองร้อนกับผลไม้ทรงไข่สีแดงและหนามฟูๆ นุ่มๆ สำหรับบางคนที่ไม่คุ้นอาจรู้สึกว่าดูคล้ายกับลิ้นจี่ แต่เงาะจะมีเนื้อหวานและแน่นกว่า
|
ที่เกาะพะงันยังมีผลไม้ ต้นไม้ และธรรมชาติอีกหลากหลายให้คุณได้เลือกชมหรือเลือกชิม เพราะเรามีป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์และมีความบริสุทธิ์อยู่สูงมาก รอให้ผู้คนมาร่วมกันชื่นชมความสวยงามและน่าตื่นใจของธรรมชาติแบบไม่ปรุงแต่งอยู่ที่นี่...ที่เกาะพะงัน |
หากใครมีเรื่องราวเกี่ยวกับต้นไม้ ผักผลไม้ สัตว์ หรือธรรมชาติของเกาะพะงัน ที่อยากร่วมแบ่งปันกับเรา กรุณาเขียนเรื่องราวสั้นๆ หรือส่งรูปถ่ายเรื่องที่คุณอยากรู้มาหาเราได้>> ที่นี่ |
Keep updated with phanganist.com by following our Facebook page.